วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

Hoy-An in 2553

Hoy-An 2553Hue-2553 on PhotoPeach
<object width="445" height="296"><param name="movie" value="http://photopeach.com/public/swf/story.swf%22%3E%3C/param%3E%3Cparam name="allowscriptaccess" value="always"/><param name="allowfullscreen" value="true"/><param name="flashvars" value="photos=http://photopeach.com%2Fapi%2Fgetphotos%3Falbum_id%3Dybq2l6&autoplay=0&embed=1"/><embed src="http://photopeach.com/public/swf/story.swf" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="445" height="296" flashvars="photos=http://photopeach.com%2Fapi%2Fgetphotos%3Falbum_id%3Dybq2l6&autoplay=0&embed=1"></embed></object>

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนากระบวนการการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม รูปแบบTOGETHER+ICT model นิคมชานุมานสงเคราะห์ ๑

  บทความ
การนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ TOGETHER+ICT
โรงเรียนนิคมชานุมานสงเคราะห์ ๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ดุษฎี    อังคุระษี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม TOGETHER+ICT ระหว่างศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและผู้มีส่วนได้เสียในโรงเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คนและครูธุรการ จำนวน 1 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวความคิดของ Kemmis & Mc Taggart 
ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม TOGETHER+ICT ช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาอุปสรรคที่พบได้แก่ ระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัยจำกัดทำให้ผลของกระบวนการนิเทศการศึกษายังไม่หลากหลาย
คำสำคัญ กระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม TOGETHER+ICT  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

บทนำ
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 49 ได้บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้   อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (หมวด 1 มาตรา 6) ได้กำหนดจุดมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาไว้ว่า ต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตรา 9 (1) (5) และ (6) ได้กำหนดการจัดระบบโครงสร้าง กระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักการมีเอกภาพด้านนโยบาย มีความหลากหลายในการปฏิบัติการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรต่าง ๆ และหมวด 4 มาตรา 23  การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ     ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา โดยต้องการให้นักเรียนเป็นคนมีปัญญา (ความรู้และความคิด) มีความประพฤติดี (เป็นคนดี) มีคุณภาพชีวิตที่ดี รักท้องถิ่นและประเทศชาติ
            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดจุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมาย เพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
            1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
            2. มีความรู้อันเป็นสากล และมีความสามารถในการสื่อสาร  การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
            3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
            4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
            5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
            ในกระบวนการนิเทศการศึกษาศึกษานิเทศก์มีหน้าที่ในการแนะนำให้คำปรึกษา มีบทบาทในการเป็นเพื่อนร่วมทางเป็นกัลยาณมิตรของครู ที่จูงมือครูให้ก้าวเดินไปพร้อมๆกันเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนและคุณภาพการศึกษา(Together we can/ร่วมมือกันเราทำได้)
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.  กระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม TOGETHER+ICT หมายถึง  กระบวนการทำงานระหว่างศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและผู้มีส่วนได้เสียในโรงเรียน
     1.1. TOGETHER หมายถึง การทำงานร่วมกัน การทำงานไปด้วยกัน
     1.2 +ICT หมายถึง เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในกระบวนการวิจัย
2.  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  หมายถึง รูปแบบการวิจัยตามแนวความคิดของ Kemmis & Mc Taggart  (PAOR) ได้แก่ การวางแผน (P) การปฏิบัติ(A)   การสังเกต(O) และการสะท้อนผลการปฏิบัติ(R)
           
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและผู้มีส่วนได้เสียในโรงเรียน TOGETHER+ICT

วิธีดำเนินการวิจัย
กระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม TOGETHER+ICT ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis & Mc Taggart  มี 4 ขั้นตอน นำไปปฏิบัติเป็น 2 วงรอบ ดังนี้
วงรอบที่             1         
                       ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากสารสนเทศของโรงเรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในการสอบO-NET NT LAS  ในปีการศึกษา 2552 แล้วร่วมกันวางแผนกำหนดวิธีปฏิบัติ( Plan)
ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน(Action)ที่ร่วมกันกำหนดกิจกรรมไว้ และศึกษานิเทศก์ นิเทศการศึกษาผ่านเครือข่าย Internetโดยใช้ Blog: Kob99.blogspot.comและ E- mail
ขั้นที่ 3 การสังเกต( Observation) เป็นการเก็บข้อมูลในระยะที่กำลังจัดกิจกรรมด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
ขั้นที่ 4 การสะท้อนผลและการวิเคราะห์ผล( Reflection) เป็นการประชุมเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานและการนำปัญหาอุปสรรคในวงรอบที่ 1 ไปพัฒนาปรับปรุงในวงรอบที่ 2
วงรอบที่ 2
                       ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ผลของการจัดกิจกรรมในวงรอบที่ 1แล้วนำปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมาวางแผนกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา( Plan)
ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน(Action)ที่ร่วมกันกำหนดกิจกรรมต่อยอดพัฒนาและศึกษานิเทศก์ นิเทศการศึกษาผ่านเครือข่าย Internetโดยใช้ Blog: Kob99.blogspot.com และ E- mail
ขั้นที่ 3 การสังเกต( Observation) เป็นการเก็บข้อมูลในระยะที่กำลังจัดกิจกรรมด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
ขั้นที่ 4 การสะท้อนผลและการวิเคราะห์ผล( Reflection) เป็นการประชุมเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานและการนำปัญหาอุปสรรคในวงรอบที่ 2 ด้วยการประชุมและสัมภาษณ์เชิงลึก(Focus Group&Indept Interviwe)


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย  มีจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
         1.1 แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน
            1.2 แบบสัมภาษณ์ครูผูสอน
            1.3 แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้
            1.4 แบบบันทึกการสัมภาษณ์และการFocus Group
            2.  เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติงานการวิจัยมี  4 ฉบับ ประกอบด้วย  
                        2.1 ฉบับที่ 1  แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์เอง
                        2.2 ฉบับที่ 2  แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนหลังการนิเทศ เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการสัมภาษณ์ครูผู้สอน เกี่ยวกับกระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม TOGETHER+ICT ที่ผู้วิจัยร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย ได้ร่วมกันสร้างขึ้น มีประเด็นการสัมภาษณ์  5 ประเด็น โดยผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์เอง
                        2.3 ฉบับที่ 3  แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ เป็นแบบสังเกตการณ์จัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โดยผู้วิจัยเป็นผู้สังเกต
            2.4 ฉบับที่ 4  แบบบันทึกการสัมภาษณ์และการFocus Group เป็นแบบบันทึกที่ใช้ในการสัมภาษณ์และการประชุม  โดยผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์และบันทึกเอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
                การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งได้จากการใช้เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย กระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม TOGETHER+ICT ซึ่งผู้วิจัยและกลุ่มเป้าหมาย ได้ใช้เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 4 รายการ ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน  2. แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน  3. แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้  4. แบบบันทึกการสัมภาษณ์และแบบบันทึกการประชุม Focus Group

ผลการวิจัย
            ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย สามารถสร้างองศ์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ทำงานอย่างมีความสุข

สรุปและอภิปรายผล

จาการวิจัยกระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม TOGETHER+ICT รายละเอียด ดังนี้
           กระบวนการนิเทศกระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม TOGETHER+ICT ในโรงเรียนนิคมชานุมานสงเคราะห์ 1 สามารถพัฒนาครูให้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย ครูมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองสามารถแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีการของตนเอง สามารถตกผลึกเป็นองค์ความรู้ของตัวเองได้ ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายมีความพึงพอใจมี

ข้อเสนอแนะ
              การนิเทศการศึกษาควรมีการอกแบบให้เกิดความหลากหลาย น่าสนใจ และทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาและสังคม

กิตติกรรมประกาศ

              รายงานการวิจัยฉบับนี้ เป็นรายงานวิจัยที่ได้จากการวิจัย เพื่อศึกษากระบวนการนิเทศการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ร่วม TOGETHER+ICT ในโรงเรียนนิคมชานุมานสงเคราะห์ 1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญสำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลายฝ่าย ซึ่งไม่อาจนำกล่าวได้ทั้งหมด ท่านแรกที่ผู้วิจัยใคร่ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งคือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และให้กำลังใจในการทำการวิจัยครั้งนี้ ผู้รายงานรู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
            ขอขอบคุณคณะผู้เชี่ยวชาญ ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ในการให้คำปรึกษา แนะนำตรวจสอบ ปรับปรุง และแก้ไขเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งได้แก่ นางสาวแสงรุนีย์  มีพร  ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ นายสัมฤทธิ์ ชาวชาติ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจัดการศึกษา และนายประดิษฐ์ กาญจนสิงห์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวัดผลทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ขอขอบคุณศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญทุกท่าน ที่ให้กำลังใจ ช่วยเหลือ และแนะนำในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้จนสำเร็จด้วยดี ขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนและคุณครูกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนนิคมชานุมานสงเคราะห์ 1  ที่ให้ความร่วมมือและให้ข้อมูลในการทำการวิจัยในครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง
            ท้ายสุดขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา  คุณครูผู้ประศาสน์วิชา ญาติพี่น้องที่คอยห่วงใยเป็นกำลังใจ และให้การสนับสนุนช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่ง จนทำให้การวิจัยครั้งนี้ประสบผลสำเร็จลุล่วงด้วยดี คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอมอบให้เป็นเครื่องบูชาพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบิดา มารดา ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้มีพระคุณทุกท่าน
ดุษฎี  อังคุระษี
บรรณานุกรม

บุญชม ศรีสะอาด. 2535. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ประวิต  เอราวรรณ์.2545. การวิจัยปฏิบัติการ Action Research : เอกสารคำสอนการวิจัย 
             ปฏิบัติการ. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
 ______. 2542. การวิจัยปฏิบัติการ Action Research : เอกสารคำสอนการวิจัยปฏิบัติการ. การวิจัย
              ปฏิบัติการ.  กรุงเทพฯ : ดอกหญ้าวิชาการ.

สงัด อุทรานันท์.2529. การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎี และปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
..  2542 ฉบับที่ 2. ปทุมธานี : บริษัทสกายบุ๊กส์.
Kemmis,  Stephen and Robin Mc Taggart.  The Action Research Planer. 3 rd. Victoria : Brown Prior
Anderson National Library of Australia Cataloguing In Publication Data.,1990.
Stephen and Rodin Mc Taggat. The Action Research Plener.3  rd ed. Victoria : Brown Prior Anderson Nation
Library of Australia Cataloguing In publication Data., 1990